เจาะลึกการทำ On-Page SEO ที่พลาดไม่ได้ พร้อม Checklist.

เจาะลึกการทำ On-Page SEO ที่พลาดไม่ได้ พร้อม Checklist

On-Page Seo คือ เทคนิคการทำ SEO ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการทำอันดับ ซึ่งก็จะมีสูตร และปัจจัยแตกต่างกันไป โดยการทำ Seo On Page จะช่วยให้ bot ของ Google เข้าใจหรือรับรู้เกี่ยวกับเว็บไซต์ทั้งหมดของเราว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับอะไร โดยการทำปรุงปรุง (Optimizing) ที่สำคัญๆ คือ Meta title, Meta Description, Heading tags, Internal links, การทำ Onpage SEO ในปัจจุบันทำได้ง่ายมากขึ้นเนื่องจากส่วนใหญ่ใช้ CMS ที่ชื่อว่า WordPress ที่ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย และปลั๊กอินมากมายที่ช่วยทำ SEO
คลิกอ่านเรื่อง SEO คือ อะไร มีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ 2020 ได้ที่นี่


Checklist วิธีการทำ On-Page Seo ต้องมีอะไรบ้าง ?

User-Friendly URLs

1.Title Tag – ส่วนนี้ถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เนื่องจากมันจะแสดงในหน้าผลการค้นหา (SERP) และควรมี Keyword หลักผสมอยู่ด้วย (แนะนำตัวอักษรไม่เกิน 50-60) ดังตัวอย่างด้านบน หรือ Pattern ดังนี้
คีย์เวิร์ด Keyword | ชื่อหรือ แบรนด์
2. Meta Description (คำอธิบาย) จากตัวอย่างด้านบน meta description คือคำอธิบายของเว็บไซต์ หรือ โพสนั้นๆ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับอะไร ต้องมีคีย์เวิรดหลักอยู่ด้วย (Keyword) และควรมีพวก Call to Action ด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานมีโอกาสคลิกเข้ามาได้สูงขึ้น (เพิ่ม CTR) และที่สำคัญคือ ควรตั้งให้สัมพันธ์กับเนื้อหาข้างในด้วย หาก User คลิกเข้าไปและไม่พบเนื้อหาที่ต้องการก็อาจปิดเว็บเราได้
3.H1 <h1> ต้องมี Keyword อยู่ภายใน Tag จริงๆ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้ แต่ถ้าใครใช้ WordPress อยู่ จะเข้าใจเลยว่ามันเป็นอันเดียวกันกับ Title Tag แต่จริงๆ แล้วไม่เหมือนกันจำง่ายๆ ว่า …

Title Tag จะโชว์ในหน้าผลการค้นหา ส่วน H1 จะไม่แสดงในหน้าค้นหา แต่จะแสดงในเว็บไซต์แทน

4. H2 , H3 (Sub Heading) อันนี้เป็นการบอกลำดับความสำคัญของหัวข้อรองลงมา อาจจะใช้คีย์เวิร์ดหลัก ผสมกับ เวิร์ดรองก็ได้ แต่เท่าที่สังเกตุคือ ใช้แค่ H2 ก็พอ ไม่ควรใช้เยอะมากจนเกินไป

5. Keyword in First Paragraph มี Keyword ใน พารากราฟแรกของเนื้อหา หลังจาก Google เข้ามาเก็บข้อมูลในส่วนของ H1 ก็จะไล่เก็บข้อมูลในส่วนอื่นๆนั้นก็คือเนื้อหา เพราะ Google มักจะดึงส่วนนี้ในการแสดงในหน้า Serp อีกด้วยเราจึงต้องพยายามแทรกคีย์เวิร์ดในเนื้อหาแรกๆ ให้ได้
คลิกอ่านเรื่อง Keywords คืออะไร : แนะ 3 Tools หา คีย์เวิร์ดง่ายๆ ด้วยตัวเอง

5. User-Friendly URLs ควรตั้งให้มีคีย์เวิร์ดแทรกด้วย ปี 2020 บางท่านบอกว่าปัจจัยตรงนี้แทบจะไม่มีผลอะไรแล้ว แต่่ผมยังทำอยู่นะครับโดยเฉพาะพวก Keyword ภาษาอังกฤษ ทำไว้ก็ไม่เสียหายนะครับ

ปรับหน้าเว็บให้เหมาะให้รองรับมือถือ Mobile Friendly

6. Mobile-Friendly การทำเว็บไซต์ให้รองรับมือถือ เนื่องจากปัจจุบันผู้คนนิยมเข้าเว็บไซต์ผ่านมือถือกันมากขึ้นบางเว็บเข้าด้วยมือถือมากกว่าคอมเสียอีก หากเว็บไม่รองมือถือ จะมีผลกระทบคือ ผู้ใช้งานเข้ามาเจอเว็บเราในสภาพที่อ่านยาก หรือเว็บเละๆ ก็จะปิดเว็บ หรือออกจากเว็บเราไปทันที ซึ่งมีผลกับพวก bounce rate สูง ทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์เราไม่มีคุณภาพส่งผลให้อันดับตกได้ (ถ้าใช้ WordPress อยู่ก็แทบไม่ต้องกังวลเรื่องนี้เลย) โดยสามารถเทสเว็บไซต์ว่าเหมาะกับมือถือได้ที่นี่ https://search.google.com/test/mobile-friendly

7. Internal Linking การทำ Link เชื่อมโยงภายในเว็บไซต์ของเรา ประโยชน์คือช่วยให้ทั้งบอทของ Google และ ผู้ใช้งาน เข้าไปหน้าอื่นๆ ด้วย แต่ช้าก่อนนน….. ไม่ใช้สักแต่จะทำลิ้งค์ไหนก็ได้นะครับ ควรให้มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาด้วยเพราะถ้าผู้ใช้งานเข้าไปแล้วไม่พบเนื้อหาที่ต้องการ แล้วทำการปิดเว็บอย่างรวดเร็ว งานเข้าแน่นอนนน

คุณสามารถอ่านเนื้อหา : Off-Page SEO คืออะไร เจาะลึกวิธีการทำแบบจัดเต็มที่นี่

8. External Linking ทำ Link ออกไปนอกเว็บไซต์ อันนี้ช่วยยได้หรือป่าวไม่รู้ แต่ก็ควรทำ

9. Images Alt text ตั้งชื่อรูปภาพด้วย Keyword และ “alt text” ควรจะใช้เป็นคีย์เวิร์ดหลักด้วย

10.Website Speed เว็บไซต์ต้องเร็ว อะไรที่เกี่ยวกับประสบการณ์การใช้งานของ User (User eXperience) ล้วนมีผลต่อการจัดอันดับทั้งสิ้น ไม่ใช่แค่ความเร็วเว็บ, บทความ ,UI (User Interface) ที่มีผลต่อการใช้งาน User ล้วนแล้วส่งผลกระทบต่ออันดับทั้งนั้น คุณสามารถลองเทสได้ที่ https://developers.google.com/speed/pagespeed/insights/

จริงๆ แล้วปัจจัยการทำอันดับด้วย On-Page Seo ยังมีอีกมากมาย ซึ่งเท่าที่ยกมาก็เหนื่อยแล้วครับ สิ่งสำคัญของ การทำ SEO ปี 2020 คือคุณภาพของเนื้อหา และ User experience เมื่อผู้ใช้งานเข้ามาในเว็บแล้วสามารถแก้ปัญหาให้ User ได้จริง ไม่ใช่เข้าแล้วเว็บช้า เจอลิ้งเสียบ้าง เจอหน้า 404 การออกแบบภายในก็ดูมั่วไปหมด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ Google ค่อนข้างให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

ให้คะแนนบทความ !